Co-payment ประกันสุขภาพ 2568 เข้าใจเงื่อนไขใหม่ และวิธีการร่วมจ่าย

Co-payment ประกันสุขภาพ 2568 เข้าใจเงื่อนไขใหม่ และวิธีการร่วมจ่าย
291 views
Published: 15/01/2025

เข้าใจระบบ Co-payment ประกันสุขภาพ รูปแบบใหม่ 2568 การปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการประกันสุขภาพไทยกำลังจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2568 เมื่อระบบ copayment จะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการ บทความนี้เราจะมาอธิบายรายละเอียดทั้งหมดที่ผู้ถือกรมธรรม์ และผู้ที่วางแผนสมัครประกันสุขภาพในปีนี้ต้องควรทราบ

Co-payment ประกันสุขภาพ 2568 เงื่อนไขใหม่

ระบบ Copayment คือ การที่ผู้เอาประกันต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วน โดยมีเงื่อนไขการพิจารณา 3 กรณีหลัก 

กรณีที่ 1: การเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือ Simple Diseases 

  • เงื่อนไข: หากมีการเคลมมากกว่า 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์
  • อัตราการเคลมเกิน 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
  • ผู้เอาประกันต้องร่วมจ่าย 30% ในปีกรมธรรม์ถัดไป

การคำนวณอัตราการเคลม

สูตรคำนวณอัตราการเคลม = (ค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทประกันจ่าย / ค่าเบี้ยประกันสุขภาพต่อปี) x 100

กรณีศึกษาที่ 1 การเจ็บป่วยเล็กน้อย

สมมติว่าคุณ A มีเบี้ยประกันสุขภาพ 20,000 บาทต่อปี

  • ครั้งที่ 1: รักษาไข้หวัดใหญ่ 10,000 บาท
  • ครั้งที่ 2: รักษาภูมิแพ้ 15,000 บาท
  • ครั้งที่ 3: รักษากระเพาะอาหารอักเสบ 20,000 บาท

การคำนวณอัตราการเคลม = (10,000 + 15,000 + 20,000) / 20,000) x 100

              = (45,000 / 20,000) x 100

              = 225%

ผลลัพธ์คือ เคสนี้เข้าเงื่อนไข Co-payment เพราะเคลมเกิน 3 ครั้งและอัตราการเคลมเกิน 200%

กรณีที่ 2: การเจ็บป่วยทั่วไป

  • ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่
  • หากเคลมเกิน 3 ครั้งต่อปี และอัตราการเคลมเกิน 400%
  • จะต้องร่วมจ่าย 30% ในปีถัดไป

กรณีศึกษาที่ 2: การเจ็บป่วยทั่วไป

สมมติว่าคุณ B มีเบี้ยประกันสุขภาพ 20,000 บาทต่อปี

  • ครั้งที่ 1: นอนโรงพยาบาลด้วยไข้เลือดออก 30,000 บาท
  • ครั้งที่ 2: รักษาปอดอักเสบ 25,000 บาท
  • ครั้งที่ 3: รักษากระดูกแตก 30,000 บาท

การคำนวณอัตราการเคลม = (30,000 + 25,000 + 30,000) / 20,000) x 100

              = (85,000 / 20,000) x 100

              = 425%

ผลลัพธ์เคสนี้เข้าเงื่อนไข Co-payment เพราะเคลมเกิน 3 ครั้งและอัตราการเคลมเกิน 400%

กรณีที่ 3: เข้าเงื่อนไขทั้งสองกรณี

  • หากเข้าเงื่อนไขทั้งกรณีที่ 1 และ 2
  • ต้องร่วมจ่าย 50% ในปีกรมธรรม์ถัดไป

ตัวอย่างการคำนวณค่าร่วมจ่าย

ตัวอย่างที่ 1 ร่วมจ่ายกรณีโรคร้ายแรง

ผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาด้วยโรคร้ายแรง 3 ครั้ง

  • โรคร้ายแรง: 200,000 บาท
  • การผ่าตัดใหญ่: 300,000 บาท
  • โรคร้ายแรง: 200,000 บาท

การคำนวณส่วนที่ผู้เอาประกันต้องร่วมจ่าย (30%)

  • ครั้งที่ 1: 200,000 x 30% = 60,000 บาท
  • ครั้งที่ 2: 300,000 x 30% = 90,000 บาท
  • ครั้งที่ 3: 200,000 x 30% = 60,000 บาท
  • รวมส่วนที่ต้องร่วมจ่าย: 210,000 บาท

โรคและการผ่าตัดที่ได้รับการยกเว้น

การรักษาต่อไปนี้จะไม่ถูกนำมาคำนวณเงื่อนไข Co-payment ได้แก่  โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง การผ่าตัดหัวใจ และการผ่าตัดสมอง

การพิจารณาทบทวนเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย

บริษัทประกันจะพิจารณาทบทวนเงื่อนไข Co-Payment ทุกปี ผู้ถือกรธรรมสามารถปรับลดหรือยกเลิกการร่วมจ่ายได้ หากพฤติกรรมการเคลมดีขึ้น ไม่มีการลดเบี้ยประกัน แม้จะเข้าเงื่อนไข copayment

สรุปเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment

การเข้าใจเงื่อนไข Copayment เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพ เพื่อการวางแผนการรักษาและการเงินที่เหมาะสม ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Siamintelligence พร้อมอัปเดตข่าวสารกระแสมาแรง หรือติดตามข้อมูลประกันสุขภาพได้ที่สมาคมประกันชีวิตไทย หรือตัวแทนประกันชีวิตทั่วประเทศ

ข่าวอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

Apple Intelligence เปิดตัวบน iOS 18.1 พร้อมฟีเจอร์ชาญฉลาดใหม่ล่าสุด

Apple เปิดให้อัปเดตเป็น iOS 18.1 พร้อมเปิดตัว Apple Intelligence เฟสแรก เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567, บริษัท Apple ได้เปิดให้ผู้ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อัพเดตเป็น iOS 18.1

รีวิวอุปกรณ์เล่นเกมราคาประหยัด คุ้มค่า เล่นมันส์ในงบไม่เกิน 30,000

ใครที่กำลังตามหา รีวิวอุปกรณ์เล่นเกมราคาประหยัด สำหรับสายเกมเมอร์ ที่อยากอัปเกรดอุปกรณ์หรือเริ่มต้นเข้าสู่วงการเกม แต่มีงบจำกัด ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากรู้จักเลือกซื้ออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน และเงินในมือที่เรามีอยู่ บทความนี้แอดมินมาเปิดโพยคอมพิวเตอร์เล่นเกมส์สเปคแรงๆราคาถูกคอมพิวเตอร์เกมมิ่งครบชุด หรือเครื่องเกมพกพาราคาถูก และอุปกรณ์เสริมเกมมิ่งที่คุ้มค่าในงบจำกัด พร้อมแนะนำแหล่งช้อปให้คุณได้เลือกอย่างมั่นใจ หรือสามารถนำไปปรับใช้กับฟังก์ชันที่มีอยู่ในใจก็ได้  รีวิวอุปกรณ์เล่นเกมราคาประหยัด เริ่มต้นที่ 25,000 บาท การสร้างคอมพิวเตอร์เล่นเกมส์ไม่จำเป็นต้องใช้งบหลักแสนเสมอไป หากเลือกชิ้นส่วนอย่างถูกวิธี และเราเองก็สามารถได้อุปกรณ์ครบชุดที่เล่นเกมส์ได้อย่างลื่นไหล สนุก ในราคาที่จับต้องได้ รวมถึง PC Gaming คอมพิวเตอร์ครบชุดราคาไม่แรง ที่เล่นเกมได้ลื่นไหล ไม่ว่าจะแนว FPS, MOBA หรือ Battle Royale งบประมาณเริ่มต้นที่ 30,000-40,000 บาทก็สามารถจัดสเปคแรง ๆ ได้แล้ว โดยสเปคยอดนิยมในปี2025 ที่อยากแนะนำได้แก่  ตาราง รีวิวอุปกรณ์เล่นเกมราคาประหยัด คอมพิวเตอร์แบบครบชุด ตัวอย่าง อุปกรณ์เกมมิ่งคุณภาพดีราคาถูก ชุดคอมเล่นเกม งบ 30,000-35,000 บาท ที่แนะนำ รายการ ราคาโดยประมาณ (บาท) CPU RYZEN5 5600G […]

สีเสื้อมงคล 2568 เสริมดวงทุกด้าน ด้วยสีมงคลตามวันเกิด

หลังปีใหม่เดือนธันวาคม2567 และได้ก้าวเข้าสู่เดือนมกราคาคมมาแล้ว หลายคนคงได้เจอแต่เรื่องดี ๆ ในชีวิต แต่ก็ต้องใช้เทคนิคเสริมดวงกันนิดหน่อยด้วย

1 2 3 16

ข่าวล่าสุด

“เสธ.หมึก” แต่งตั้ง “บิ๊กหม่อง” ประสานงาน-ดูแล การออกบัตรและการทำงานของสื่อทุกประเทศใน “ซีเกมส์ ครั้งที่ 33”

คณะกรรมาธิการฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทั่วไป คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมี “เสธ.หมึก” พลเอก เดชา เหมกระศรี เป็นประธาน จัดการประชุมคณะกรรมาธิการฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทั่วไป เพื่อหารือในเรื่องของการลงทะเบียนของสื่อมวลชน ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ที่ประเทศไทย...

ฝันว่าทะเลาะกับพ่อ แม่ คนในบ้าน ความหมายและเลขเด็ดแม่นๆ

การฝันว่าทะเลาะกับคนใกล้ตัว อย่างเช่น ฝันว่าทะเลาะกับพ่อ หรือทะเลาะกับแม่ แล้วร้องไห้ หรือหนีออกจากบ้าน นับว่าเป็นความฝันที่ทำให้เกิดความกังวลกันไม่มากก็น้อย ซึ่งจริงๆ แล้ว การฝันว่าทะเลาะกับพ่อแม่ ก็มีความหมายแฝงอยู่เช่นกัน เพราะฉะนั้น มาดูกันว่าการฝันว่ามีปากเสียงกับคนใกล้ตัว ตามตำราทำนายฝันแล้วให้ความหมายว่าอย่างไรบ้าง ฝันว่าทะเลาะกับพ่อ...

หวยลาววันนี้ 21 กรกฎาคม 2568 ผลหวยลาวย้อนหลัง ออกอะไร

ตรวจหวยลาวพัฒนา ตรวจหวยลาวงวด 21 กรกฎาคม 2568 ຫວຍລາວ ผลหวยลาว 6 ตัววันนี้ ออกอะไรบ้าง ตรวจผล หวยลาว 21/7/68 ได้ก่อนใคร ลุ้นผลรางวัลหวยลาวพัฒนางวดนี้...
สงวนลิขสิทธิ์ © 2567
เกี่ยวกับเรา
นำเสนอข่าวสารและบทวิเคราะห์เชิงลึกด้านเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และสังคมทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมมุมมองที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการตัดสินใจที่ชาญฉลาดในยุคข้อมูลข่าวสาร
แนะนำติชม แจ้งปัญหาการใช้งาน
ร่วมงานกับเรา
crossmenuchevron-down linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram